backup og meta

โคลนิดีน (Clonidine)

ข้อบ่งใช้

ยา โคลนิดีน ใช้สำหรับ

ยา โคลนิดีน (Clonidine) ใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่น เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension) การลดระดับความดันโลหิตที่เพิ่มสูง จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดฉับพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต ยา โคลนิดีน นั้นอยู่ในกลุ่มของยาเซนทรัลอัลฟ่าอะโกนิสต์ (central alpha agonists) ส่งผลต่อสมองเพื่อลดระดับความดันโลหิต ยา โคลนิดีน นี้ทำงานโดยการผ่อนคลายหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

ยานี้ยังอาจใช้สำหรับโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) สำหรับอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) ที่เกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือน (menopause) สำหรับอาการถอนยาแก้ปวดแบบเสพติด และเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่

วิธีการใช้ยาโคลนิดีน

ใช้ยาโคลนิดีนตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด ควรทำตามแนวทางบนฉลากยาที่กำหนด ในบางครั้งแพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับผลดีที่สุด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่กำหนด

รับประทานยาโคลนิดีนในตอนเช้าและก่อนนอน หากคุณใช้ยาในขนาดที่แตกต่างกัน ควรรับประทานยาขนาดที่มากกว่าในตอนก่อนนอน

ยาโคลนิดีนสามารถรับประทานพร้อมกับอาหารหรือแยกต่างหากได้

อย่าใช้ยาโคลนิดีนสองรูปแบบในคราวเดียวกัน ยานี้ยังมีรูปแบบแผ่นแปะซึมเข้าผิวหนังอีกด้วย

อย่าบด เคี้ยว หรือหักยาออกฤทธิ์นาน กลืนยาทั้งเม็ด แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีปัญหากับการกลืนยาทั้งเม็ด

หากคุณจำเป็นต้องผ่าตัด แจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนล่วงหน้าว่า คุณกำลังใช้ยาโคลนิดีน คุณอาจต้องหยุดใช้ยานี้ในระยะสั้นๆ

อย่าหยุดใช้ยาโคลนิดีนอย่างกะทันหัน ไม่เช่นนั้นจะมีอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ โปรดสอบถามแพทย์ถึงวิธีการหยุดใช้ยาอย่างปลอดภัย

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการป่วยหรืออาเจียน อาการป่วยระยะยาวอาจทำให้ร่างกายของคุณดูดซึมยาได้ยากขึ้น และอาจนำไปสู่อาการถอนยา โดยเฉพาะเด็กที่กำลังใช้ยาโคลนิดีน

หากคุณกำลังรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ควรใช้ยานี้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะรู้สึกเป็นปกติ ภาวะความดันโลหิตสูงนั้นมักจะไม่มีอาการ และคุณอาจต้องใช้ยาสำหรับความดันโลหิตสูงไปตลอดชีวิต

การเก็บรักษายาโคลนิดีน

ยาโคลนิดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโคลนิดีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาโคลนิดีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโคลนิดีน

โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาโคลนิดีน หาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • คุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ ของยาโคลนิดีนหรือยาอื่นๆ
  • คุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนใช้ยานี้

ยาคีโตโรแลคจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโคลนิดีน

เข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
  • หัวใจเต้นช้ามาก (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที)
  • รู้สึกหายใจไม่อิ่ม แม้แต่จากการออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย
  • บวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • สับสน มองเห็นภาพหลอน
  • เป็นไข้ ผิวซีด
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ชา หรือรู้สึกเย็นที่มือหรือเท้า
  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • มีอาการระคายเคืองที่ผิวหนังอย่างรุนแรง รอยแดง บวม แสบร้อน หรือแผลพุพองในบริเวณที่แปะแผ่นยา

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่า มีดังนี้

  • รู้สึกวิงเวียน ง่วงซึม เหนื่อยล้า หรือกังวลใจ
  • ปากแห้ง
  • ตาแห้งหรือแสบร้อนที่ดวงตา มองเห็นไม่ชัด
  • ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • ปัสสาวะมากในตอนกลางคืน
  • ผดผื่นผิวหนังในระดับเบาหรือคัน
  • ความต้องการทางเพศลดลง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • ผดผื่นผิวหนัง ผิวเปลี่ยนสี หรือระคายเคืองในระดับเบาตรงบริเวณที่แปะแผ่นยา

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโคลนิดีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยาโคลนิดีน ได้แก่

  • ยาสำหรับโรคหัวใจหรือความดันโลหิตอื่นๆ
  • ยาต้านซึมเศร้า
  • ยาอื่นๆ ที่มียาโคลนิดีน

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโคลนิดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโคลนิดีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ภาวะหัวใจเต้นช้า (Bradycardia)
  • โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน (Coronary insufficiency)
  • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • หัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Heart attack)
  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจปิด (Heart block)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
  • โรคไต
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • หมดสติ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโคลนิดีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ขนาดยาเริ่มต้น (รับประทาน) : 0.1 ไม่โครกรัม รับประทานวันละสองครั้ง (เช้าและเย็น)
  • ขนาดยาปกติ : แบ่งให้ยา 0.2 ถึง 0.6 มก./วัน
  • ขนาดยาเริ่มต้น (แผ่นแปะยา) : ยาโคลนิดีน ทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก./24 ชั่วโมง) แปะยาสัปดาห์ละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : หากผ่านไป 1 ถึง 2 สัปดาห์แล้ว ระดับความดันโลหิตยังไม่ลดลงไปในระดับที่ต้องการ ให้เพิ่มขนาดยา โดยการเพิ่มแผ่นฟิล์มทีทีเอส-1 อีกหนึ่งแผ่น หรือเปลี่ยนไปใช้ยาที่ขนาดมากกว่า
  • การเพิ่มขนาดยามากกว่ายาโคลนิดีน ทีทีเอส-3 2 แผ่น มักจะไม่มีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น

ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.17 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนนอน อาจเพิ่มขนาดยามากขึ้น 0.09 มก. รับประทานวันละครั้งในช่วงสัปดาห์หากจำเป็น เพื่อให้ได้การตอบสนองที่ต้องการ
  • ขนาดยาปกติ : 0.17 มก. ถึง 0.52 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนนอน

ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทานออกฤทธิ์นาน

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.17 มก. (2 มล.) รับประทานวันละครั้งก่อนนอน อาจเพิ่มขนาดยามากขึ้น 0.09 มก. (1 มล.) รับประทานวันละครั้งในช่วงสัปดาห์หากจำเป็น เพื่อให้ได้การตอบสนองที่ต้องการ
  • ขนาดยาปกติ : 0.17 มก. ถึง 0.52 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนนอน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวด

หยอดยาเข้าทางไขสันหลังอย่างต่อเนื่อง

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 30 ไมโครกรัม/ชั่วโมง
  • อาจปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับการบรรเทาอาการปวดและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น
  • ขนาดยาสูงสุด : 40 ไมโครกรัม/ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการวินิจฉัยเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)

  • 0.3 มก. รับประทานหนึ่งครั้ง ยาโคลนิดีนนั้นแนะนำให้ใช้ต่อ เมื่อมีการการตรวจหาระดับพลาสมาแคททีโคลามีน (plasma catecholamines) ขั้นต้นแล้ว สามารถนำตัวอย่างขั้นต้นสองตัวอย่างที่ได้รับห่างกัน 5 นาทีจากสายฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำที่มีอยู่ หลังจากที่ผู้ป่วยนอนหงายนานกว่า 90 นาที (การสอดเข็มใหม่เพิ่มอาจจะเพิ่มความเข้มข้นของแคททีโคลามีน และทำให้ผลไม่ถูกต้องได้)
  • หลังจากให้ยาโคลนิดีนในขนาดเริ่มต้น อาจมีการนำตัวอย่างเลือดเพิ่มเติม 3 ครั้งเพื่อวัดระดับความเข้มข้นของพลาสม่าแคททีโคลามีน
  • โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมานั้น จะไม่มีการลดลงของความเข้มข้นของพลาสม่าแคททีโคลามีนหลังจากการทดสอบการกด (suppression test) แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ไม่มีเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมานั้น จะมีการลดลงของความเข้มข้นของพลาสม่าแคททีโคลามีน เคยมีรายงานผลการตรวจลบเป็นเท็จ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตฉุกเฉิน

  • 0.2 มก. รับประทานหนึ่งครั้ง อาจให้ยาเพิ่มขึ้นอีก 0.1 มก. หากจำเป็นและสามารถทนได้ให้ทุกๆ ชั่วโมงเพื่อควบคุมความดันโลหิต ควรรับทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดฉับพลัน หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของความดันโลหิตที่รุนแรง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ขนาดยาโดยรวมต่อวันสูงสุดที่แนะนำสำหรับกรณีภาวะความดันโลหิตสูงฉุกเฉินใดๆ คือ 0.8 มก.
  • รายงานทางการแพทย์บางฉบับรายงานถึง ผลการลดความดันที่ไม่มีในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง เนื่องจากยานี้ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อยับยั้งการทำงานของระบบประสาทรอบนอกและผู้ป่วยเหล่านี้จะมีระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอกที่ยุ่งเหยิง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการเลิกสุรา

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการวิตกกังวล (Anxiety)

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อเพื่อการถอนยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคไมเกรน

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopausal Symptoms)

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการเลิกบุหรี่

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

  • 0.1 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-1 (TTS-1) (0.1 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการถอนยาเข้าฝิ่น (Opiate)

  • 0.2 มก. รับประทานวันละสองครั้งหรือแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังทีทีเอส-2 (0.2 มก.) สัปดาห์ละครั้ง

ขนาดยาโคลนิดีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder):

อาจใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้เสริมในยากระตุ้น

ออกฤทธิ์ทันที (นอกฉลาก)

เด็กน้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 กก.

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.05 มก. รับประทานก่อนนอน เพิ่มอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ถึง 7 วันในขนาด 0.05 มก. เพิ่ม 2 ครั้งต่อวัน แล้วตามด้วย 3 ครั้งต่อวัน แล้ว 4 ครั้งต่อวัน
  • ขนาดยาปกติ : สำหรับผู้ป่วยที่น้ำหนัก 27 ถึง 40.5 กก. รับประทาน 0.2 มก./วัน สำหรับผู้ป่วยที่น้ำหนัก 40.5 ถึง 45 กก. รับประทาน 0.3 มก./วัน
  • เมื่อจะหยุดการรักษา ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงมา 1 ถึง 2 สัปดาห์

เด็กน้ำหนักมากกว่า 45 กก.

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.1 มก. รับประทานก่อนนอน เพิ่มอย่างติดต่อกันทุกๆ 3 ถึง 7 วันในขนาด 0.1 มก. เพิ่ม 2 ครั้งต่อวัน แล้วตามด้วย 3 ครั้งต่อวัน แล้ว 4 ครั้งต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุด : 0.4 มก./วัน
  • เมื่อจะหยุดการรักษา ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงมา 1 ถึง 2 สัปดาห์

ยาออกฤทธิ์นาน ยาคัปวา (Kapva {R}) 

เด็กอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.1 มก. รับประทานก่อนนอน แล้วเพิ่มขึ้น 0.1 มก./วัน ทุกๆ 7 วันจนกว่าจะได้การตอบสนองที่ต้องการ ควรให้ยาวันละสองครั้ง (อาจจะแบ่งยาเท่ากันหรือให้ยาในขนาดที่สูงกว่าก่อนนอน)
  • ขนาดยาสูงสุด : 0.4 มก./วัน
  • หมายเหตุ : ยังไม่มีการประเมินการรักษาที่นานกว่า 5 สัปดาห์
  • เมื่อจะหยุดการรักษา ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงมาในขนาดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.1 มก. ทุกๆ 3 ถึง 7 วัน
  • ยาซึมผ่านเข้าผิวหนัง : เด็กอาจเปลี่ยนมาใช้ยาแบบซึมเข้าผิวหนังหลังจากใช้ยาแบบรับประทานเป็นการปรับขนาดยาเพื่อให้ได้ขนาดยาที่ดีที่สุดและเสถียร เคยมีการใช้ยาซึมผ่านเข้าผิวหนังในขนาดยาเท่าๆ กับขนาดยาโดยรวมของยาแบบรับประทานทั้งหมด
  • ขนาดของยาโคลนิดีนแบบออกฤทธิ์นานอาจให้เป็นยาชนิดเดียวหรือเป็นยาเสริมสำหรับยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้น ควรมีความแตกต่างตามแต่ละบุคคลโดยขึ้นอยู่กับความต้องการในการรักษาและการตอบสนองของผู้ป่วย ควรเริ่มต้นขนาดยาที่ยาเม็ด 0.1 มก. หนึ่งเม็ดก่อนนอน และควรมีการปรับขนาดยาของแต่ละวันโดยเพิ่ม 0.1 มก./วัน ทุกสัปดาห์จนมีการตอบสนองตามที่ต้องการ อาจรับประทานยาวันละสองครั้งโดยรับประทานในขนาดยาที่เท่ากันหรือรับประทานยาขนาดที่มากกว่าก่อนนอน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด
  • ยาแขวนตะกอน

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Clonidine. https://www.drugs.com/clonidine.html. Accessed July 25, 2017

Clonidine. http://www.healthline.com/health/clonidine-oral-tablet. Accessed July 25, 2017

Clonidine. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682243.html. Accessed July 25, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคการ ควบคุมความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

5 วิธีธรรมชาติที่ช่วย ลดความดันโลหิต สำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา